วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การกินอาหารและการปรับสมดุลร่างกาย



นอกจากอาหารที่เราต้องรับประทานให้ครบห้าหมู่แล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงอีกเรื่องนึงคือการที่เราต้องปรับสมดุลของร่างกายและการปรับสมดุลนั้นก็สามารถทำได้ด้วยการเลืกรับประทานอาหารนี่เองคะ

            การรับประทานสมุนไพรปรับสมดุล

กรณีที่มีภาวะร้อนเกิน
ดื่มน้ำำสมุนไพรฤทธิ์เย็น หรือที่เรียกว่า น้ำคลอโรฟิลด์สดจากธรรมชาติ/น้ำเขียว/น้ำ้ย่านางน้ำย่านาง คลอโรฟิลด์สด

วิธีทำ
 ใช้สมุนไพรฤทธฺ์เย็น เช่น
- ใบย่านางเขียว 5-20 ใบ
- ใบเตย 1-3 ใบ
- บัวบก ครึ่ง-1 กำมือ
- หญ้าปักกิ่ง 3-5 ต้น
- ใบอ่อมแซบ (เบญจรงค์) ครึ่ง-1 กำมือ
- ผักบุ้ง ครึ่ง-1 กำมือ
- ใบเสลดพังพอน ครึ่ง-1 กำมือ
- หยวกกล้วย ครึ่ง-1 คืบ
- ว่านกาบหอย 3-5 ใบ เป็นต้น

จะใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันก็ได้ โขลกให้ละเอียดหรือ
ขยี้ผสมกับน้ำเปล่า 1-3 แก้ว (บางครั้งอาจผสมน้ำมะพร้าว น้ำตาล
น้ำมะนาว น้ำมะขาม ในรสไม่จัดเกินไป เพื่อทำให้ดื่มได้ง่ายในบางคน)
กรองผ่านกระชอน เอาน้ำที่ได้มาดื่ม ครั้งละประมาณ ครึ่ง-1 แก้ว
วันละ 1-3 ครั้ง ก่อนอาหารหรือ ตอนท้องว่างหรือดื่มแทนน้ำตอนที่รู้สึก
กระหายน้ำปริมาณการดื่มและความเข้มข้นของสมุนไพร อาจมากหรือ
น้อยกว่านี้ก็ได้ ตามความต้องการของร่างกาย ณ เวลานั้น ๆ โดยดูความ
พอดีได้จาก ความรู้สึกที่กลืนง่าย ไม่ฝืดไม่ฝืนไม่พะอืดพะอมและความสบายตัว

กรณีที่ดื่มน้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็นสดแล้วรู้สึกไม่สบาย 


ให้กดน้ำร้อนใส่น้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็นหรือนำไปต้มให้เดือด ก่อนดื่ม หรืออาจนำสมุนไพรฤทธ์ร้อนมาผสมก่อนดื่มก็ได้
เช่น นำน้ำต้มขมิ้น/ขิง/ตะไคร้ มาผสม เป็นต้น หรืออาจดื่่มสมุนไพรฤทธิ์ร้อนอย่างเดียวก็ได้ ถ้าดื่มแล้วรู้สึกสบาย
   
      การปรับสมดุลด้วยอาหาร จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่สำคัญมากอีกอย่างหนึ่งที่น่าฝึกฝนเรีบนรู้ 
ดังรายละเอียดต่อไปนี้
       
 1 เพิ่มการรับประทาน ผัก ผลไม้ที่ไม่หวานจัด และโปรตีนจากถั่วหรือปลา (สำหรับผู้ที่ไม่สามารถงดเนื้อสัตว์)

   2 ควรปรุงอาหารด้วยการต้มหรือนึ่ง ปรุงรสไม่จัดจนเกินไป ถ้าเป็นไปไ้ด้ ควรปรุงรสอยู่ในระดับประมาณ 10-30 % ของที่เคยปรุง
อาจปรุงมากหรือน้อยกว่านี้ตามความสมดุลพอดีของร่างกาย ณ ปัจจุบันนั้น ๆ ซึ่งตัวชี้วัดของความสมดุลพอดี คือ ความรู้สึุกสบาย
เบากาย มีกำลัง หรือถ้าผู้ที่ติดรสจัดมาก ก็ค่อย ๆ ลดรสจัดของอาหารลง ให้มากที่สุด เ้่ท่าที่จะพอรับประทานได้โดยไม่ลำบากนัก

   3 งดหรือลดการรับประทานอาหารที่หวานจัด เช่น ของหวาน น้ำหวาน น้ำอัดลม เครื่องบำรุงกำลัง ผลไม้หรือน้ำผลไม้ที่หวานจัด
อาหารที่เค็มจัด เช่น ปลาร้า ผักดอง เนื้อเค็ม ไข่เค็ม อาหารที่ปรุงเค็มมาก และอาหารที่มีผงชูรสมาก

(มีการวิจัยของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า อาหารที่มีโซเดียมมากเกิืน เค็มจัดหรือมีผงชูรสมาก
ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง หัวใจโตน้ำหนักเพิ่ม ไตเสื่อม ภูมิต้านทานลด และรหัสพันธุกรรมผิดปกติ)

อาหารที่มีไขมันสูง เ่ช่น อาหารผัดทอด เนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูง ได้แก่ เนื้อหมู วัว ควาย ไก่พันธุ์เนื้อ อาหารทะเล เป็นต้น
และอาหารที่ปรุงรสอื่น ๆ จัดเกินไป เช่น เผ็ด เปรี้ยว ขม ฝาด เป็นต้น

  ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มเกลือแร่ เครื่องดื่มบำรุงกำลังต่าง ๆ
นำ้หมัก ข้าวหมาก รวมถึงอาหารที่มีวิตามินน้อย แต่มีโซเดียมหรือไขมันสูงเกิน ได่แก่ อาหารแปรรูปหรือสำเร็จรูปต่าง ๆ
เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมอมขนมกรุบกรอบ ขนมปัง อาหารกระป๋อง ไส้กรอก หมูยอ กุนเชียง ปลาเค็ม เนื้อเค็ม ไข่เค้ม
ของหมักดอง อาหารทะเ้ล (จะมีทั้งไขมันและโซเดียมสูง) เป็นต้น

   4 หลักปฎิบัติ 4 อย่าง ในการรับประทานอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดี
        4. 1. ฝึกรับประทานอาหารตามลำดับ
        4. 2. เคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน
         4.3. รับประทานในปริมาณที่พอดีรู้สึกสบาย
         4.4. กลืนลงคอให้ได้ เพราะอาหารสุขภาพมักจะไม่อร่อย ยกเว้น ผู้ที่มีบุญบารมีมากหรือผู้ที่ฝึกรับประทานบ่อย ๆจะรู้สึกอร่อยไปเอง







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น